วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เดินหน้าุผุดสะพานสู่เกาะลันตา

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง พุธที่ 30 มิถุนายน 2553 10:23:16 น.
          นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินการก่อสร้างโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา น้อย-เกาะลันตาใหญ่ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ว่าขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งคาดว่าจะทำสัญญาจ้างได้ภายใน ต้น ก.ค.53 จากนั้นจะต้องรอความเห็นชอบด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการขออนุญาตใช้พื้นที่ จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ประมาณ ก.ย.53 หลังจากได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่แล้ว ทั้งนี้ เบื้องต้นผ่านการอนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรีแล้ว 400 ล้านบาท
          อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างสะพานเชื่อมดังกล่าวนั้น เนื่องจากชาวบ้านและนักท่องเที่ยวจะต้องใช้บริการแพขนานยนต์ทำให้การเดินทาง เกิดความล่าช้า ประชาชนได้รับความเดือดร้อน อาทิ การเดินทางไปรักษาพยาบาล การขึ้นเครื่องบินของนักท่องเที่ยวที่ไปไม่ทันเที่ยวบิน ตลอดจนการขนส่งสินค้าต่างๆ มายังเกาะลันตาก็มีราคาสูงขึ้น กรมทางหลวงชนบทจึง เร่งดำเนินโครงการดังกล่าวเพื่อเชื่อมโยงและเพิ่มศักยภาพในการเดินทาง ระหว่างเกาะลันตาน้อยเกาะลันตาใหญ่ และเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณเกาะลันตาซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ มีชื่อเสียงของจังหวัดกระบี่ เมื่อโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จนอกจากจะทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทาง ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม สำหรับโครงการดังกล่าวมีความยาวรวมทั้งโครงการ 1.400 กิโลเมตร ประกอบด้วย สะพานยาว 650 เมตร และเชิงลาด ถนนต่อเชื่อมสะพานยาว 750 เมตร ซึ่งเป็นงบผูกพันระยะเวลา 3 ปี โดยแบ่งเป็น ปี 2553 จำนวน 40 ล้านบาท ปี 2554 จำนวน 200 ล้านบาท ปี 2555 จำนวน 160 ล้านบาท

ชุมชนบ้านสังกาอู้...ถิ่นชาวไทยใหม่

          
          คงมีน้อยคนนักที่จะรู้ว่า บนเกาะลันตาแห่งนี้มีชุมชนเล็กๆชุมชนหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่แต่มันมีความหมาย มากเหลือเกินสำหรับชาวไทยใหม่ กลุ่มอุรักลาโว้ย เพราะ ณ ชุมชนนี้ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของชาวเล อันเนื่องมาจากสมเด็จย่าได้พระราชทานที่ดินผืนนี้ให้กับชาวเลได้อยู่อาศัย และทำมาหากินมาจนตราบถึงทุกวันนี้ อีกทั้งยังทรงพระราชทานนามสกุลทั้ง 5 นามสกุล ได้แก่ หาญทะเล ประมงกิจ ทะเลลึก ช้างน้ำ และชาวน้ำ ให้กับชาวเลอีกด้วย

          ชุมชนบ้านสังกาอู้เดิมมีชาวไทยใหม่อาศัยอยู่ทั้งหมด 96 ครอบครัว ยกบ้านอยู่เป็นกลุ่มบริเวณชายหาด หันหน้าเข้าหากัน มีลักษณะเป็นบ้านไม้ยกใต้ถุน ประกอบด้วยชานหน้าบ้าน ห้องอเนกประสงค์ และห้องครัว โดยห้องน้ำจะปลูกแยกออกไปจากตัวบ้านใหญ่ วางอยู่บนดินใกล้ ๆ อาณาเขตบ้าน
          การใช้ชีวิตในชุมชนเป็นไปอย่างเรียบง่าย มีการรวมกลุ่มในชุมชนสูง ประชาชนส่วนใหญ่ทำอาชีพชาวประมง โดยภายในอ่าวมีการยกร่องทะเลเพื่อทำเป็นท่าจอดเรือร่วมกัน มีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมกลาง ในบริเวณท่าเรือเช่น ซ่อมแห ซ่อมอวน ฯลฯ การปลูกบ้านกระจายแยกเป็น ๔ อ่าว ได้แก่ อ่าวสังกาอู้, อ่าวพร้าว, อ่าวควน และอ่าวมาเละ

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำทะเลแหวก- Unseen Krabi

              หลายปีที่ผ่านมาทะเลแหวกเป็น Unseen Thailand รายการหนึ่งทีน่าตื่นตะลึงสำหรับนักท่องเที่ยว เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดจากน้ำขึ้น-น้ำลงตามธรรมชาติอันทำให้สันทรายของเกาะทั้งสามคือ เกาะทับ เกาะหม้อและเกาะไก่ปรากฎขึ้นเมื่อน้ำลด
            นักท่องเที่ยวสามารถเดินเล่นไปมาระหว่างเกาะได้ ส่วนใหญ่ก็จะมาถ่ายรูปกัน ควรจะเดินทางมาในช่วงที่น้ำทะเลลงต่ำสุดในแต่ละวัน โดยเฉพาะในวันก่อนและหลังวันขึ้น
15 ค่ำ (ต้องดูปฎิทินแบบไทยที่มีบอกข้างขึ้นข้างแรม) ทะเลแหวกถือได้ว่าเป็นรายการที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับคนที่มาเที่ยวจังหวัดกระบี(ภาพ-ขอบคุณ Sirirat/gotoknow.org)

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Mr.Santos-Lanta Fireman

If you come to Koh Lanta and stay at Nakara Long Beach Resort. We are welcome to see an exciting show by a man who was called "Lanta man"-Mr. Santos and his performances.

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เกาะลันตาน่าอยู่(3)

          เจ๊ะอาแวบอกว่า  เมื่อก่อนถนนขึ้นมาบนเขานี้ไม่มีหรอก มีเพียงเส้นทางที่ชาวบ้านช่วยกันสร้างขึ้นมาเองเป็นทางแคบๆ พอที่จะนำยางลงไปส่งขายให้กับผู้รับซื้อที่มารอรับซื้อที่ท่าเรือด้านล่าง ต้องลงไปแต่เช้า ต้องขายให้เสร็จภายในวันเดียวถ้าไม่เสร็จก็ต้องหานอนตามบ้านญาติหรือคนรู้จักด้านล่างเพราะมืดแล้วจะมองไม่เห็นทาง
                ครอบครัวเจ๊ะอาแวเป็นอีกตัวอย่างครอบครัวหนึ่งที่ทันเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนเกาะและเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงนั้นสิ่งหนี่งที่แกบอกผมว่า แกดีใจที่เกาะแห่งนี้มีผู้คนมาเที่ยว และผ่านหน้าบ้านแกทุกวันทำให้แกไม่เหงา แต่สิ่งหนึ่งที่กำลังหายไปจากหมู่บ้านก็คือกลุ่มมุสลิมหนุ่มสาวที่นิยมลงไปทำงานตามโรงแรม รีสอร์ทด้านล่างมากกว่าจะอยู่ดูแลธุรกิจการทำสวนยางของพ่อแม่

           ชุมชนเมืองเก่าลันตาประกอบไปด้วยอาคารห้องแถวไม้ บางส่วนถูกบูรณะใหม่ สถาปัตยกรรมยังคงเป็นเรือนไม้สองชั้นแบบจีนโบราณตกแต่งด้วยโคมไฟ ชาวบ้านที่นี่มีทั้งคนไทย คนจีนชาวพุทธและคนมุสลิม แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนมีเหมือนกันก็คือ ความรักใคร่กลมเกลียวกันและอยู่กันอย่างสงบสุข
          เกาะลันตาในวันนี้กำลังเปลี่ยนไป สาธารนูปโภคได้รับการพัฒนาปรับปรุงเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่กำลังหลั่งไหลเข้าสู่ เกาะสวรรค์แห่งอันดามันแห่งนี้  รีสอร์ทใหม่กำลังก่อสร้าง รวมถึงธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ความเจริญส่วนใหญ่ต่างกระจุกตัวกันอยู่ด้านตะวันตกของเกาะ ที่ติดกับชายฝั่งทะเลอันดามัน
          ตลอดเวลาเกือบสองเดือนที่อยู่บนเกาะเล็กๆแห่งนี้ผมไม่เคยคิดเลยว่าชีวิตชาวเกาะจะทำให้ผมลืมโลกภายนอก ลืมความสับสนวุ่นวายต่างๆ ของสังคมเมืองและสถานการณ์ทางการเมืองได้อย่างสิ้นเชิง