วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Greeting from Monica & Anders Lord

Sawat-dii!

We are at home safe and sound. From plus 30 to minus 15 degree Celsius. It was a shock. Papa sholves snow as you can see from the photograph. We are both very thankful for making our stay at Nakara lovely. Enclosed you'll find the pictures I promised to send.


Yours faithfully,
Monica and Anders Lord

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

2011 Lanta Food & Beverage Festival

Koh Lanta Hotel Association in cooperation with public and private sectors organized the special event under the name of Lanta Food & Beverage Festival 2011 (Celebrating 111TH Anniversary) during 12-16 February 2011 at Phra Ae beach of Koh Lanta, Krabi province.

The objective is to promote tourism of Koh Lanta for Thais and foreigner tourists worldwide and build momentum conservation in the local culture and traditions. The beauty of the island is recognized as an island paradise that tourists can travel to visit all year round.
Taking this project is the first time under the main idea is “ancient culture, food festival, sea village, local handicrafts and land of beads”.
                                                                     No name reporter from Nakara's front office


วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เดินหน้าุผุดสะพานสู่เกาะลันตา

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง พุธที่ 30 มิถุนายน 2553 10:23:16 น.
          นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินการก่อสร้างโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา น้อย-เกาะลันตาใหญ่ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ว่าขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งคาดว่าจะทำสัญญาจ้างได้ภายใน ต้น ก.ค.53 จากนั้นจะต้องรอความเห็นชอบด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการขออนุญาตใช้พื้นที่ จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ประมาณ ก.ย.53 หลังจากได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่แล้ว ทั้งนี้ เบื้องต้นผ่านการอนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรีแล้ว 400 ล้านบาท
          อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างสะพานเชื่อมดังกล่าวนั้น เนื่องจากชาวบ้านและนักท่องเที่ยวจะต้องใช้บริการแพขนานยนต์ทำให้การเดินทาง เกิดความล่าช้า ประชาชนได้รับความเดือดร้อน อาทิ การเดินทางไปรักษาพยาบาล การขึ้นเครื่องบินของนักท่องเที่ยวที่ไปไม่ทันเที่ยวบิน ตลอดจนการขนส่งสินค้าต่างๆ มายังเกาะลันตาก็มีราคาสูงขึ้น กรมทางหลวงชนบทจึง เร่งดำเนินโครงการดังกล่าวเพื่อเชื่อมโยงและเพิ่มศักยภาพในการเดินทาง ระหว่างเกาะลันตาน้อยเกาะลันตาใหญ่ และเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณเกาะลันตาซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ มีชื่อเสียงของจังหวัดกระบี่ เมื่อโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จนอกจากจะทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทาง ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม สำหรับโครงการดังกล่าวมีความยาวรวมทั้งโครงการ 1.400 กิโลเมตร ประกอบด้วย สะพานยาว 650 เมตร และเชิงลาด ถนนต่อเชื่อมสะพานยาว 750 เมตร ซึ่งเป็นงบผูกพันระยะเวลา 3 ปี โดยแบ่งเป็น ปี 2553 จำนวน 40 ล้านบาท ปี 2554 จำนวน 200 ล้านบาท ปี 2555 จำนวน 160 ล้านบาท

ชุมชนบ้านสังกาอู้...ถิ่นชาวไทยใหม่

          
          คงมีน้อยคนนักที่จะรู้ว่า บนเกาะลันตาแห่งนี้มีชุมชนเล็กๆชุมชนหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่แต่มันมีความหมาย มากเหลือเกินสำหรับชาวไทยใหม่ กลุ่มอุรักลาโว้ย เพราะ ณ ชุมชนนี้ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของชาวเล อันเนื่องมาจากสมเด็จย่าได้พระราชทานที่ดินผืนนี้ให้กับชาวเลได้อยู่อาศัย และทำมาหากินมาจนตราบถึงทุกวันนี้ อีกทั้งยังทรงพระราชทานนามสกุลทั้ง 5 นามสกุล ได้แก่ หาญทะเล ประมงกิจ ทะเลลึก ช้างน้ำ และชาวน้ำ ให้กับชาวเลอีกด้วย

          ชุมชนบ้านสังกาอู้เดิมมีชาวไทยใหม่อาศัยอยู่ทั้งหมด 96 ครอบครัว ยกบ้านอยู่เป็นกลุ่มบริเวณชายหาด หันหน้าเข้าหากัน มีลักษณะเป็นบ้านไม้ยกใต้ถุน ประกอบด้วยชานหน้าบ้าน ห้องอเนกประสงค์ และห้องครัว โดยห้องน้ำจะปลูกแยกออกไปจากตัวบ้านใหญ่ วางอยู่บนดินใกล้ ๆ อาณาเขตบ้าน
          การใช้ชีวิตในชุมชนเป็นไปอย่างเรียบง่าย มีการรวมกลุ่มในชุมชนสูง ประชาชนส่วนใหญ่ทำอาชีพชาวประมง โดยภายในอ่าวมีการยกร่องทะเลเพื่อทำเป็นท่าจอดเรือร่วมกัน มีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมกลาง ในบริเวณท่าเรือเช่น ซ่อมแห ซ่อมอวน ฯลฯ การปลูกบ้านกระจายแยกเป็น ๔ อ่าว ได้แก่ อ่าวสังกาอู้, อ่าวพร้าว, อ่าวควน และอ่าวมาเละ